ปราสาทพระวิหาร

MOU 2543 – "ขยับขากรรไกร ลดการใช้อวัยวะ"


ภาพเขาพระวิหารมุมสูงเมื่อมองจากฝั่งไทย
ประตูมุขของโคปุระชั้นที่ 2 ส่วนหนึ่งของปราสาทพระวิหาร

วิธีคิดที่แตกต่างระหว่าง อภิสิทธิ์กับพันธมิตร

(รายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์” ออกอากาศทาง เอเอสทีวี วันที่ 30 กรกฎาคม 2553 เวลา 20.30-23.00 น. ช่วงที่ 1 นายสนธิ ลิ้มทองกุล ดำเนินรายการ)

http://wp.me/p3uK8h-1Y
MOU 2543, ขยับขากรรไกร, ลดการใช้อวัยวะ

พันธมิตร 1.

ต้องยกเลิกMOU 2543 เพราะเป็นการยอมรับแผนที่ 1ต่อ 2แสน เป็นครั้งแรก เป็นการสละจุดยืนสำคัญว่า เรายึดหลักสันบันน้ำอย่างเดียว และทำให้เป็นการยอมรับแผ่นดินที่เคยเป็นของไทยล้วนๆ กลายเป็นพื้นที่พิพาท และทับซ้อนกัน

อภิสิทธิ์ 1.

MOU 2543 ไม่ต้องยกเลิก เพราะมีประโยชน์มาก เป็นการทำให้กัมพูชา ซึ่งเคยยึดแผนที่ 1ต่อ 2แสน ซึ่งฝรั่งเศสจัดทำขึ้นฝ่ายเดียว กลายเป็นพื้นที่ซึ่งพิพาท และทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ถือเป็นผลงานสำเร็จในรัฐบาลชวน 2

พันธมิตร 2.

เขมรบุกรุกเข้ามาในแนวหลังสันปันน้ำ ถือว่ารุกเข้ามาในดินแดนไทย เพราะไม่เคยมีคนเขมรเข้ามาอาศัยมาก่อน

อภิสิทธิ์ 2.

เขมรบุกรุกเข้ามาในแนวหลังสันปันน้ำ แต่ยังไม่เลยเส้นแผนที่มาตราส่วน 1ต่อ 2แสน ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว ยังถือว่าอยู่ในพื้นที่พิพาท และทับซ้อนกัน

พันธมิตร 3.

ปัจจุบันคนไทยเข้าไม่ได้ในพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารจนถึงวัดแก้วสิขะคีรีสวารา ดังนั้นจึงมีแค่ฝ่ายกัมพูชาที่รุกล้ำเข้ามาในดินแดนไทยเท่านั้น

อภิสิทธิ์ 3.

หากนับพื้นที่ซึ่งพิพาท และทับซ้อนกันจะพบว่าไทยครองพื้นที่ซึ่งพิพาท และทับซ้อนกันมากกว่าฝ่ายกัมพูชา แสดงว่าเรายังได้เปรียบอยู่

พันธมิตร 4.

การสร้างถนน ชุมชน ตลาด พร้อมกองกำลังทหารเขมร เข้ามาในพื้นที่หลังสันปันน้ำของไทย เราต้องใช้กำลังทหารไทยผลักดันออกไปโดยไม่มีเงื่อนไข

อภิสิทธิ์ 4.

การสร้างถนน ชุมชน ตลาด และกองกำลังทหารเขมร ถือเป็นการละเมิด MOU 2543 ในพื้นที่พิพาทและทับซ้อน ไทยจึงใช้วิธีส่งหนังสือประท้วงและเจรจาในพื้นที่ซึ่งเขมรยึดครองอยู่ จนกว่าการปักปันเขตแดนจะแล้วเสร็จ

พันธมิตร 5.

การปกป้องอธิปไตยหลังแนวสันปันน้ำของไทยเป็นหน้าที่ของทหารและรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ และสามารถจำกัดขอบเขตอยู่ชายแดนได้

อภิสิทธิ์ 5.

การขับไล่ชุมชนและทหารที่ลุกล้ำเ้ข้ามาในพื้นที่ทับซ้อน จะนำไปสู่ภาวะสงคราม จะเสียหายอย่างร้ายแรง

ลวดลายการแกะสลักซุ้มประตู หน้าบัน และทับหลัง มีความวิจิตร งดงามมาก

พันธมิตร 6.

การรบแนวชายแดน เพื่อปกป้องอธิปไตยของตัวเองเกิดขึ้นได้ทั่วโลก ต่างชาติหรือ UN ไม่มีหน้าที่เข้ามาแทรกแซง

อภิสิทธิ์ 6.

การทำสงคราม จะทำให้ UN และมหาอำนาจเข้ามาแทรกแซง

พันธมิตร 7.

หากมีการพิพาทหรือปะทะกันแล้ว กัมพูชาจะยื่นให้ศาลโลกพิจารณาแผนที่ ไทยไม่จำเป็นต้องขึ้นศาลโลกอีกครั้งเพราะเป็นสิทธิของไทย

อภิสิทธิ์ 7.

หากมีการพิพาทกันหรือปะทะกัน กัมพูชาอาจยื่นให้ศาลโลกพิพากษาตัวแผนที่ของฝรั่งเศส ซึ่งไทยจะเสี่ยงเกินไป จึงต้องยึด MOU 2543 เอาไว้ว่ามีพื้นที่ทับซ้อน

พันธมิตร 8.

ไทยไม่ควรเข้าร่วมประชุมมรดกโลกครั้งนี้ และควรประท้วงตั้งนานแล้ว ตั้งแต่ ก.ค. ’51 โดยการอ้างการละเมิดอธิปไตยไทย คำพิพากษาศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ(เพราะวาระครั้งนี้เป็นเรื่องพิจารณาแผนบริหารและจัดการฯ

อภิสิทธิ์ 8.

ไทยควรเข้าร่วมประชุมวาระครั้งนี้ เพื่อแสดงสิทธิ์ขอให้ “เลื่อน” การประชุมเพราะการปักปันเขตแดนตามพื้นที่พิพาทยังไม่แล้วเสร็จตาม MOU 2543 และมีการปะทะกันอยู่ ถ้าไม่ได้ผลจึงค่อยขู่ว่าจะ…

พันธมิตร 9.

จุดยืนคือ ไม่รับแผนที่มาตราส่วน 1ต่อ 2แสน ซึ่งเป็นแผนที่เท็จ การล้ำเข้ามาเกินสันปันน้ำคือการรุกล้ำอธิปไตย ต้องใช้การทหารนำการฑูต โดยมีหลักคิดที่ว่า อำนาจบนโต๊ะเจรจาขึ้นอยู่กับอำนาจทางการทหารในสมรภูมิ

อภิสิทธิ์ 9.

จุดยืนคือ ใช้ MOU 2543 เป็นเครื่องมืออันวิเศษโดยให้ยอมรับว่า มีพื้นที่พิพาทระหว่างสันปันน้ำของไทยกับแผนที่ 1 ต่อ 2แสนของฝรั่งเศส เมื่อเขมรละเมิด MOU 2543 ก็จะใช้การประท้วงตามเงื่อนไขของ MOU 2543 โดยใช้กำลังทหารเพียงแค่ไม่ให้รุกล้ำเพิ่ม(หลักคิด ตอบโต้ด้วยเอกสาร สันติ แต่ทวงดินแดนคืนไม่ได้)

พันธมิตร 10.

จุดยืนแบบนี้ จะไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทะเบียนร่วมปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบ เพราะจะยึดแนวเส้นสันปันน้ำ มีความชัดเจน มิเช่นนั้นต่อไปดินแดนไทยทั้งหมด 1.8 ล้านไร่ ซึ่งเดิมไม่มีคนเขมรอาศัยอยู่ จะกลายเป็นดินแดนของทั้งสองประเทศ

อภิสิทธิ์ 10.

จุดยืนแบบนี้จะเห็นด้วย สุดท้ายคือให้ขึ้นทะเบียนร่วมปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบให้เป็น 2ประเทศ พร้อมทั้งเตรียมตัวพื้นที่อีกจำนวน 1.8 ล้านไร่ซึ่งเดิมเป็นของไทย จะกลายเป็นของทั้ง 2ประเทศต่อไป ภายใต้หลักคิดว่า มีพื้นที่พิพาทและพื้นที่ทับซ้อน แต่ระหว่างการเจรจาไม่สำเร็จก้จะอ้างการ “เลื่อน” ไม่รู้จบในการปักปันเขตแดน ไม่ผลักดันทหารเขมร…

     เส้นเขตแดนไทย – กัมพูชา เป็นไปตามความตกลง ๒ ฉบับ คือ อนุสัญญาระหว่างสยาม – ฝรั่งเศส ๒๔๔๗ (ค.ศ. ๑๙๐๔) และสนธิสัญญาสยาม – ฝรั่งเศส ๒๔๕๐ (ค.ศ. ๑๙๐๗) โดยเป็นพื้นที่ยังไม่ได้ปักหลักเขตแดน ๑๙๕ กิโลเมตร (ตามอนุสัญญาระหว่างสยาม – ฝรั่งเศส ๒๔๔๗ (ค.ศ.๑๙๐๔) และพื้นที่ที่ปักหลักเขตแดนแล้ว (จำนวน ๗๓ หลัก) ๖๐๓ กิโลเมตร (หลักเขตที่ ๑ ช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ – หลักเขตที่ ๗๓ บ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด)

พื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตแดนช่วงที่ยังไม่มีการปักหลักเขตแดน ซึ่งอนุสัญญา ปี ๒๔๔๗ (ค.ศ. ๑๙๐๔) กำหนดให้เส้นเขตแดนบริเวณนี้เป็นไปตามสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรัก และกำหนดให้รัฐบาลไทยและฝรั่งเศสจัดตั้งข้าหลวงปักปันขึ้นเพื่อไปทำการปักปันเขตแดน




เขมรไม่พอใจ

“กูเกิ้ลเอิร์ธ” ขีดเส้นเขตแดนไทยตามสันปันน้ำ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 กุมภาพันธ์ 2553 23:07 น.

     แผนที่ทำขึ้นใหม่จากแผนที่กูเกิ้ลเอิร์ธ แสดงแนวเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา ด้านปราสาทพระวิหาร ที่ขีดเส้นแบ่งโดยเท็คโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียม โดยยึดแนวสันปันน้ำ แผนที่ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก็จัดทำโดยยึดหลักสันปันน้ำก็ออกมาไม่ต่างกัน กัมพูชาไม่พอใจเนื่องจากยึดถือแผนที่ที่ฝรั่งเศสจัดทำไว้ตั้งแต่กว่า 100 ปีก่อน โดยไม่ได้เป็นไปตามหลักสากล ไม่ได้ยึดแนวสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดนธรรมชาติตามกฎหมายระหว่างประเทศ แต่แผนที่ฝรั่งเศสที่กัมพูชายึดถือนั้น ทำให้ดินแดนกัมพูชาล้ำเข้ามาในเขตสันปันน้ำของไทย กลายเป็นกรณีพิพาทจนถึงทุกวันนี้


ปราสาทพระวิหาร

 

     ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปราสาทพระวิหาร สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ เพื่อเป็นศาสนสถานตามคติความเชื่อในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ที่นับถือพระศิวะเป็นเทพสูงสุด ถือเป็นร่องรอยของความเจริญรุ่งเรืองและวิถีชีวิตของผู้คนในอดีต และยังสะท้อนถึงความสำคัญของปราสาทที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างผู้คนในชุมชนโบราณในดินแดนแถบนี้มาแต่บรรพกาล

MOU ปี พ.ศ. 2543


คำต่อคำ
“สนธิ”จี้“มาร์ค”หยุดดื้อ เลิกเอ็มโอยู 43 พร้อมขอโทษประเทศไทย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 31 กรกฎาคม 2553 02:15 น.

MOU 2543
“ขยับขากรรไกร ลดการใช้อวัยวะ”
.
ภาพเขาพระวิหารมุมสูงเมื่อมองจากฝั่งไทย
ประตูมุขของโคปุระชั้นที่ 2 ส่วนหนึ่งของปราสาทพระวิหาร
.
วิธีคิดที่แตกต่างระหว่าง อภิสิทธิ์กับพันธมิตร
รายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์” ออกอากาศทาง เอเอสทีวี
วันที่ 30 กรกฎาคม 2553 เวลา 20.30-23.00 น.
ช่วงที่ 1 นายสนธิ ลิ้มทองกุล ดำเนินรายการ
.
http://wp.me/p3uK8h-1Y
MOU 2543, ขยับขากรรไกร, ลดการใช้อวัยวะ
.


ปราสาทพระวิหาร
: เทวสถานแห่งความทรงจำมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ

ศูนย์สถานการณ์
พื้นที่เขาพระวิหารและชายแดนไทย-กัมพูชา

MOU ปี
พ.ศ. 2543
ชาติบ้านเมืองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์.mp3

รู้สึก…แลลึกซึ้ง ซึ่งสำเนียง เสียงภายใน

update 05-01-2556 03:50
wannaprasart blog

7 thoughts on “MOU 2543 – "ขยับขากรรไกร ลดการใช้อวัยวะ"

  1. samunchon ผู้เขียนเรื่อง

    MOU 2543
    “ขยับขากรรไกร ลดการใช้อวัยวะ”
    .
    ภาพเขาพระวิหารมุมสูงเมื่อมองจากฝั่งไทย
    ประตูมุขของโคปุระชั้นที่ 2 ส่วนหนึ่งของปราสาทพระวิหาร
    .
    วิธีคิดที่แตกต่างระหว่าง อภิสิทธิ์กับพันธมิตร
    รายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์” ออกอากาศทาง เอเอสทีวี
    วันที่ 30 กรกฎาคม 2553 เวลา 20.30-23.00 น.
    ช่วงที่ 1 นายสนธิ ลิ้มทองกุล ดำเนินรายการ
    .
    http://wp.me/p3uK8h-1Y
    MOU 2543, ขยับขากรรไกร, ลดการใช้อวัยวะ
    .

    Liked by 1 person

  2. wannaprasart

    หวัดดีจ้า…ธัญญ่า ผมสบายดี

    …TOT เป็นใจ..เสียช่วงวันหยุด-เข้าพรรษา หลายวัน เลยถือโอกาสพักยาว กลับมาอีกทีไม่ค่อยมีแรงบันดาลใจเหมือนก่อน…คงต้องค่อยเป็น ค่อยไป.

    …สบายดี นะจ๊ะ.

    Liked by 1 person

  3. wannaprasart

    หวัดดีจ้า…ธัญญ่า ผมสบายดี

    …TOT เป็นใจ..เสียช่วงวันหยุด-เข้าพรรษา หลายวัน เลยถือโอกาสพักยาว กลับมาอีกทีไม่ค่อยมีแรงบันดาลใจเหมือนก่อน…คงต้องค่อยเป็น ค่อยไป.

    …สบายดี นะจ๊ะ.

    Liked by 1 person

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.