ถ้าภาครัฐปรับเงินเดือนปริญญาตรีเป็น 15,000 แล้วเอกชนจะทำอย่างไร

วันนี้มาในเรื่องของการปรับเงินเดือนกันอีกแล้วนะครับ ช่วงนี้ข่าวคราวเรื่องของการปรับเงินเดือนระดับปริญญาตรีนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปไม่เว้นแต่ละวัน มีหลายกระแสข่าวมากเลย ตอนนี้นายจ้างหลายๆ คนก็กำลังสับสน ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะเอายังไงกันแน่ เพราะนายจ้างเองก็ต้องเตรียมการอีกมากมาย มิฉะนั้นตอนประกาศออกมาแล้วอาจจะเตรียมการกันไม่ทันอีก

ข่าวที่ได้รับมาล่าสุดก็คือ เรื่องของการปรับเงินเดือนปริญญาตรีจบใหม่ให้เท่ากับ 15,000 บาทนั้นจะใช้กับข้าราชการ โดยที่จะไม่บังคับใช้กับภาคเอกชน และตอนนี้ยังอยู่ในช่วงที่ให้ทางกรมบัญชีกลางไปศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งแปลว่ายังไม่ฟังธงอยู่ดี แต่สัญญานก็มาแล้วว่า จะบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2555

(อ่านรายละเอียดจากมติชนได้ตาม link นี้ครับ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1314862213&grpid=00&catid=00)

ผมเองก็จะพยายามติดตามให้ทันต่อเหตุการณ์ แต่ถ้าท่านผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลที่ทันสมัยกว่า ก็สามารถ comment มาได้เลยนะครับ จะได้เป็นข้อมูลแลกเปลี่ยนกันในกลุ่มนักบริหารบุคคลครับ

ประเด็นที่จะต้องคุยกันต่อก็คือ ถ้าภาครัฐ หรือข้าราชการมีการปรับอัตราแรกจ้างของปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท แล้วภาคเอกชนจะต้องดำเนินการอะไรต่อไปบ้าง เพราะไม่มีการบังคับใช้กับภาคเอกชน

ผมเองคิดว่าที่รัฐบาลไม่บังคับใช้กับภาคเอกชน และบังคับภาครัฐ ก็เนื่องจากอาจจะเห็นแล้วว่า เอกชนถ้าปรับอาจจะมีผลกระทบตามมาเยอะมาก จึงใช้วิธีการทางอ้อม ปรับข้าราชการ แล้วกึ่งๆ ให้เอกชนพิจารณาเอาเองว่า ถ้าข้าราชการปรับแล้ว เอกชนแห่งใดมีผลกระทบต่อการปรับครั้งนี้ ก็น่าจะมีการปรับขึ้นเองโดยอัตโนมัติ โดยที่รัฐไม่ต้องบังคับอะไร ซึ่งถ้าสิ่งที่ผมคิดถูกต้อง ก็แปลว่าเขาใช้กลยุทธ์ที่แยบยลมากครับ

เนื่องจากการที่ข้าราชการปรับอัตราแรกจ้างใหม่นั้น ยังไงก็มีผลกระทบต่อภาคเอกชนแน่นอนครับ เพราะเดิมเคยจ่ายสูงว่าแต่ตอนนี้กลับไล่มาจนเท่ากัน หรือสูงกว่าเอกชนในบางบริษัทด้วยซ้ำไป ถ้าบริษัทเราแข่งขันในการว่าจ้างคนแบบเดียวกับภาครัฐ ผมคิดว่า เอกชนแห่งนั้นจะต้องปรับตามอย่างแน่นอนครับ ดีไม่ดี ปรับสูงกว่าที่รัฐกำหนดด้วยซ้ำไป เพราะต้องการดึงคนให้เข้ามาทำงานกับตนเอง

ถ้านโยบายเป็นแบบนี้จริงๆ สิ่งที่นักบริหารบุคคลจะต้องพิจารณาก็คือ

  • บริษัทของเราได้รับผลกระทบจากการปรับเงินเดือนไปที่ 15,000 บาทจากภาคราชการหรือไม่
  • เราแข่งขันในการว่าจ้างคนแบบเดียวกับภาครัฐหรือไม่
  • จะทำให้เราหาคนระดับปริญญาตรีได้ยากขึ้นหรือไม่
  • แนวโน้มว่าเราจะเสียพนักงานของเราให้กับภาครัฐจากผลการปรับเงินเดือนครั้งนี้หรือไม่
  • มีบริษัทเอกชนที่เป็นคู่แข่งเราปรับตามภาครัฐหรือไม่ ถ้ามี แปลว่าเราก็ต้องพิจารณาปรับ เพราะเราแข่งขันในการว่าจ้างพนักงานแบบเดียวกับเขานั่นเอง

5 ข้อข้างต้นถ้าตอบว่า ใช่ มากกว่า 3 ข้อ ผมคิดว่าน่าจะมีการพิจารณาปรับนะครับ เพราะเรามีผลแน่นอนในการว่าจ้างและการรักษาพนักงานในระดับปริญญาตรีครับ

ส่วนระดับที่ต่ำกว่าปริญญาตรี นโยบายจะมีการปรับเพิ่มให้ 1,500 บาทนั้น ก็ต้องมาพิจารณาดูว่า การปรับครั้งนี้มีผลกระทบกับการบริหารค่าจ้างเงินเดือนของพนักงานในองค์กรเราหรือไม่ เพราะถ้าพิจารณาแล้วมีผลในการบริหารบุคคลของบริษัทเรา ผมคิดว่า การขยับอัตราค่าจ้างขึ้นในกลุ่มต่ำกว่าปริญญาตรีก็คงต้องทำไปด้วย มิฉะนั้น เราจะมีปัญหาในการดึงดูดและรักษาพนักงานของเราได้ครับ

6 thoughts on “ถ้าภาครัฐปรับเงินเดือนปริญญาตรีเป็น 15,000 แล้วเอกชนจะทำอย่างไร

Add yours

  1. สิ่งที่จะเกิดขึ้น
    – ภาครัฐต้องหาทางรีดภาษีให้มากขึ้นเพื่อมาจ่ายให้กับข้าราชการ
    – ภาคเอกชนจะปรับเงินเดือนขึ้นแต่ลดสวัสดิการลง เพื่อรักษาต้นทุน total rewards
    – คนหางานจะแย่งกันเข้าทำงานภาครัฐมากขึ้นเพราะเงินเดือนเท่ากันสวัสดิการดีกว่า
    – ข้าราชการจะได้อานิสงส์ทางตรงคือเงินเดือนขึ้น ทางอ้อมคือสินบนเข้ารับราชการ

  2. – การปรับของภาครัฐ ไม่ได้ปรับที่กระบอกเงินเืดือน แต่เป็นเงินช่วยค่าครองชีพค่ะ

    – ส่วนการปรับเงินเดือนแรกบรรจุของภาครัฐ คงกระทบกันอย่างเลี่ยงไม่ได้แน่ ๆ ค่ะ แต่กำลังคิดถึงการปรับเงินเดือนโดยให้ความสำคัญกับวุฒิที่ได้รับ กลัวจะเกิดปรากฏการณ์ เรียนเพื่อปรับวุฒื แต่ไม่ได้คุณภาพขึ้นอีกระลอก ตอนนี้ที่ทำงานก็มีวิศวกรแย่ๆ แทนช่างดี ๆ มากแล้ว

    – สวัสดิการภาครัฐตอนนี้ก็ลดลงมาเรื่อย ๆ นะคะ ไม่ได้ดีมากจนจูงใจเหมือนสมัยก่อน

  3. คิดว่าผลที่ตามมาต่อจากนี้คือการปรับฐานภาษี เพิ่มขึ้นด้วยละมั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเงินหมุนเวียนในกระทรวงการคลัง อาจจะต้องจ่ายกันหนักขึ้น ในเรื่องของภาษี เพราะว่า รายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาล (ตามกระทรวงการคลัง หรือตอนที่เรียนมา ก็คือภาษีของเรานี่ละ) ผมลองคิดดูว่า ถ้าการจ่ายภาษีเพื่มขึ้นในกรณีของภาษี นะครับ มันคุ้มแล้วหรอที่จะเอาเงินภาษีของคนทั้งประเทศ ไปจ่ายให้กับบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมันทำให้ ทุกคนไม่สามารถได้รับผล ตอบแทนจากภาษีที่จ่ายไป

    ตอบคำถาม ข้างบนนะ
    1 ในกรณีนี้ผมตอบให้ไม่ได้อ่ะครับเพราะว่าผมทำงาน เอกชน และก็เปง อินเตอร์ อยู่ เงินเดือนที่ได้มา มันก็ใกล้จะเท่ากะที่ปรับแล้ว แต่ถ้าเป็นที่อืน เช่น บริษัท ทั่วไป อาจจะพิจารณาอีกที แต่ถ้าเป็นมหาชน แล้ว คิดว่าคงไม่ปรับ เพราะว่าการจ้างงาน ของเขาน่าจะเกิน หมื่นห้าไปแล้วในบางตำแหน่ง แต่ที่คิดไว้ บริษัทเล็กๆ คงต้องแย่ หน่อยหรืออาจจะปรับได้ แต่การรับคนเข้าทำงานก็จะเอาประสบการณ์เป็นหลักว่าตรงกะสายงานที่ต้องการหรอป่าว พูดง่าย จบใหม่ไม่มีประสบการณ์ ก็ นอนอยู่บ้านแน่นอน ถ้าไม่เก่งจิงอะไรจิง
    2 อาจจะต้องแข่งขันมากขึ้นเพราะว่า คนจะแห่เข้าราชการมากขึ้น หรือไม่ต้องปรบตัวเงินเดือนภาคเอกชนใให้สูงกว่าราชการ เพื่อเป็นแรงจูงใจ

    3 ตอบได้เลยว่าหาคนจากปริญญาตรีไม่ยาก แต่หาคนที่ทำงานแล้ว มี Performance effective. Effectiveness ยาก เพราะคนจบใหม่ไม่ค่อยมีประสบการณ์ ทำให้ตัวองค์การรับต้นทุนสูงขึ้นอีก ยกเว้นภาษีของเด็กจบใหม่ เกรดสวยจาก ม ดัง

    4 อาจจะมีบ้าง ถ้าการเข็งขันของเอกชนด้อยกว่า ราชการ
    5 อาจจะต้องมีการปรับในตัวของเอกชนที่เป็นองค์การเล็กๆ ถ้าองค์กรใหญ่ๆ นั้นคงไม่ค่อยปรับ หรือปรับก็น้อยมาก เพราะการจ้างงานของเขาสูงอยู่แล้ว

  4. ภาครัฐเป็นองค์กร ใหญ่ ควบคุมจุดเดียว ส่วนภาคเอกชนเป็นองค์ขนาดที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งอาจจะปรับไม่เท่ากันทุกบริษัทแน่นอน

  5. รัฐบาลแย่มากๆตอนหาเสียงบอกว่าป ตรี แต่พอปรับจริงๆให้แค่รัฐบาล ไม่มีความยุติธรรมเอาซะเลย เอกชนทำงานหนักกว่ารัฐบาลอีก ทำเพื่อส่วนรวมเหมือนกัน

ใส่ความเห็น

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑