ตะลุยเที่ยวย่านสาทรใต้ ศูนย์รวมทางศาสนาและความเชื่อ

ชื่อ “สาทร” ไม่ได้ให้ความรู้สึกถึงว่าจะมีแหล่งที่เที่ยวเลย นึกถึงแหล่งออฟฟิสมากกว่า แต่หลังจากได้ศึกษาข้อมูลดูก็รู้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นเมืองเก่าอายุเกินกว่า 200 ปี ไม่ว่าจุดไหนแหล่งไหนก็ล้วนแต่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาซ่อนอยู่ จึงไม่น่าแปลกที่ย่านกลางเมืองอย่างสาทรจะมีสถานที่ที่น่าสนใจซ่อนอยู่เช่นกัน

_DSF9579วัดเซ็นหลุยส์
วัดเซ็นต์หลุยส์
_DSF9584วัดเซ็นหลุยส์
วัดเซ็นต์หลุยส์
_DSF9585วัดเซ็นหลุยส์
วัดเซ็นต์หลุยส์
_DSF9586วัดเซ็นหลุยส์
วัดเซ็นต์หลุยส์

เริ่มจากวัดเซ็นต์หลุยส์ วัดคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก แห่งนี้สร้างขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งเบาคริสตศาสนิกชนจาก วัดอัสสัมชัญ และวัดกาลหว่าร์ เนี่องจากทั้งสองวัดนั้นมีผู้มาเข้าร่วมพิธีกรรมเป็นจำนวนมากทำให้เริ่มแออัด วัดเซนต์หลุยส์แห่งนี้เริ่มใช้งานอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957  ลักษณะอาคารเป็นอิฐก่อ มีจากเปิดช่องแสงให้เข้าไปด้านในอาคาร และอาคารมีระบบปรับอากาศ

_DSF9589มัสยิดยะวา
มัสยิดยะวา
_DSF9593มัสยิดยะวา
มัสยิดยะวา
_DSF9595มัสยิดยะวา
มัสยิดยะวา
_DSF9600มัสยิดยะวา
กุโบร์ของมัสยิดยะวา

จากวัดเซ็นต์หลุยส์เราไปกันต่อที่ศาสนสถานของศาสนาอิสลามบ้างนั่นก็คือ มัสยิดยะวา ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยชาวชวาที่ย้ายมาอาศัยอยู่บริเวณสาทรใต้ ซึ่งเมื่อย้ายมาแรกๆ ยังไม่มีที่ประกอบศาสนกิจ จึงมีชาวยะวาด้วยกันที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นยกที่ดินให้เพื่อทำการปลูกสร้างเป็นมัสยิด โดยมัสยิดยะวาแห่งนี้มีความโดดเด่นที่หลังคาที่มีความเป็นเอกลักษณ์ เป็นสถาปัตยกรรมแบบยะวาหรือชวา โดยถึงแม้จะผ่านการซ่อมแซมครั้งใหญ่มาถึงสองครั้ง แต่ก็ยังคงเก็บรักษาหลังคาแบบเดิมไว้ ถือเป็นมัสยิดอีกแห่งหนึ่งที่มีความน่าสนใจในบริเวณสาทรใต้

_DSF9603สุสานแต้จิ๋ว
สุสานแต้จิ๋ว
_DSF9612สุสานแต้จิ๋ว
สุสานแต้จิ๋ว
_DSF9615สุสานแต้จิ๋ว
สุสานแต้จิ๋ว
_DSF9631สุสานแต้จิ๋ว
สุสานแต้จิ๋ว
_DSF9628สุสานแต้จิ๋ว
สุสานแต้จิ๋ว
_DSF9602สุสานแต้จิ๋ว
สุสานแต้จิ๋ว

ถัดจากมัสยิดยะวา เลี้ยวซ้ายมาตามทางซอยโรงน้ำแข็ง จนถึงแยกซอยเจริญราษฎร์ 3 เราก็จะพบกับซุ้มประตูจีนด้านซ้ายมือ จะเป็นทางเข้าของสุสานแต้จิ๋ว ถ้าคนที่เกิดทันในยุค 30-40 ปีก่อนคงจะเคยได้ยินชื่อป่าช้าวัดดอน ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ได้กลายมาเป็นสวนสาธารณะที่มีผู้คนเข้ามาออกกำลังกาย และมีการจัดสวนตกแต่งอย่างสวยงาม และมีศาลเจ้าที่เป็นอาคารแบบจีน รวมถึงศาลาและสิ่งตกแต่งก็ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ประเทศจีน

_DSF9637วัดปรก
วัดปรก
_DSF9644วัดปรก
วัดปรก
_DSF9641วัดปรก
วัดปรก
_DSF9646วัดปรก
วัดปรก
_DSF9648วัดปรก
วัดปรก

และที่ใกล้ๆกันก็จะเป็นทีตั้งของวัดปรก ซึ่งวัดปรกแห่งนี้เป็นวัดของชาวมอญหรือชาวรามัญ มีลักษณะคล้ายกับวัดของพม่า สร้างมากว่า 70 ปี โดยชาวมอญที่อพยพมาจากหงสาวดี โดยจุดเด่นของวัดมอญที่เห็นได้ชัดคือมีการประดับด้วยหงส์ อันเป็นความเชื่อของชาวมอญถึงเรื่องต้นกำเนิดเมืองหงสาวดี จุดเด่นอีกอย่างของวัดแห่งนี้คือเจดีย์ทรงลังกาสีทอง ที่มียอดเจดีย์แบบมอญ รายล้อมด้วยพระประจำวันเกิด

_DSF9656วัดวิษณุ
วัดวิษณุ
_DSF9649วัดวิษณุ
วัดวิษณุ
_DSF9650วัดวิษณุ
วัดวิษณุ
_DSF9653วัดวิษณุ
ผู้มาร่วมพิธีทางศาสนาที่วัดวิษณุ

เยื้องกับวัดปรกเราก็จะพบกับศาสนสถานอีกแห่งหนึ่งที่เป็นของชาวฮินดูชื่อว่าวัดวิษณุ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2463 อายุก็เกือบจะร้อยปี วัดแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นเทวสถานในไทยแห่งเดียวในศาสนาฮินดูที่มีเทวรูปเคารพที่ครบทุกองค์ ซื่งสร้างรองรับการขยายตัวของชาวฮินดู จากเดิมที่มีเพียงวัดแขกที่เดียวที่เริ่มจะแออัด จากเดิมที่เป็นเพียงอาคารไม้ และได้รับการบริจาคเงินเพื่อบูรณะซ่อมแซมจนกลายเป็นแบบที่เห็นในปัจจุบัน

_DSF9664วัดดอน
วัดบรมสถล
_DSF9669วัดดอน
วัดบรมสถล
_DSF9673วัดดอน
วัดบรมสถล
_DSF9677วัดดอน
วัดบรมสถล

จากวัดปรกเราก็จะเดินทางไปที่สุดท้ายของทริปนี้นั่นก็คือวัดดอน หรือวัดบรมสถล โดยย้อนกลับมาที่ซอยเจริญราษฎร์ 3 แล้วข้ามถนนเจริญราษฎร์มาที่ซอยเจริญราษฎร์ 2 ผ่านสุสานไหหลำ ซึ่งปัจจุบันได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านบึงทั้งหมดแล้ว คงเหลือซุ้มประตูไว้ให้เราได้สังเกต ก็จะมาถึงวัดบรมสถลฯ สาเหตุที่มาวัดนี้ก็เพื่อมาชมเจดีย์ทรงทวายเก่าแก่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในประเทศไทย ด้วยเหตุที่วัดแห่งนี้สร้างสร้างอยู่ในชุมชนชาวทวายที่พาครอบครัวอพยพมารับราชการที่กรุงเทพมหานคร เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2340 และยังใช้เป็นสถานที่จำพรรษาของพระสงฆ์ที่เป็นชาวทวาย

และทั้งหมดนี้ก็เป็นอีกหนึ่ง Amazing Story หรือเรื่องราวดีๆที่น่าประทับใจในการท่องเที่ยว ที่เราสามารถค้นหาได้ใกล้ๆ ตัว โดยไม่ต้องเดินทางไปที่ไหนไกลๆ ในกรุงเทพมหานครนี่เอง

Leave a comment