Skip to content

ปัญหา 4 ประการในการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย


การเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยนั้นถืิอได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากในการที่จะขายงานวิจัยของเราให้กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจจะเป็น ผู้ให้ทุน อาจารย์ที่ปรึกษา หรือ บรรณาธิการของวารสารวิชาการที่เราอยากตีพิมพ์งานของเรา โดยการเขียนให้แต่ละกลุ่มเป้าหมายก็มีความเหมือนและต่างกันออกไป ผมเองก็เคยประสบปัญหาในเรื่องนี้มาก่อนเช่นกัน จึงอยากจะแบ่งปันข้อแนะนำให้ผู้ที่อาจจะกำลังประสบปัญหานี้เหมือนกัน ดังนี้ครับ

  1. ควรเริ่มอย่างไรดี
    ผมเห็นหลายๆ งานมักจะเริ่มด้วยการบรรยายขนาดความสำคัญของพื้นที่หรืออุตสาหกรรมที่วิจัยอยู่เช่น GDP ของ ไทย หรือ รายได้หรือจำนวนนักท่องเที่ยว ซึ่งผมคิดว่าไม่น่าดึงดูดใจพอ จริงอยู่ที่ตัวเลขต่างๆ นั้นสามารถบอกขนาดความสำคัญได้ ทว่ากลับเป็นขนาดของภาพรวมพื้นที่ ไม่ใช่ขนาดความสำคัญของงานวิจัยเราดังนั้นสำหรับผมแล้วจะเริ่มที่ปัญหาที่เกิดขึ้นเลย โดยจะไม่บรรยายความสำคัญของพื้นที่มากนัก อาจจะแค่กริ่นเล็กๆ น้อย แล้วเสนอปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นในเชิงวิชาการ หรือ ในภาคปฏิบัติ (งานส่วนใหญ่ผมจะกริ่นด้วยปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นจริงๆ ในกาคปฏิบัติ)
  2. ควรจะเขียนมากน้อยขนาดไหนดี
    ทุกครั้งที่เขียนที่มาฯ ผมจะคิดเสมอว่าตัวเองเป็น Sale ขายงานวิจัย ดังนั้นจึงคิดว่า ทำยังไงก็ได้ให้ผู้อ่าน หรือ ผู้ให้ทุน (ลูกค้า) สนใจอ่านงานเรา หรือ ให้ทุนวิจัย (ซื้อของ) ในเวลาที่สั้นที่สุด แต่ต้องใช้ข้อมูลที่เป็นความจริงไม่มีการนั่งเทียนหรือแต่งนิทานมาหลอกเด็ดขาดโดยทั่วไปที่มาฯ ไม่ควรเกิน 5-10% ของงานวิจัย ในวิทยานิพนธ์ สองร้อยกว่าหน้า มีส่วนที่เป็นที่มา เพียง 1-2 หน้าก็เพียงพอแล้ว (อาจารย์มิ่งสรรพ์ เคยกล่าวไว้ว่า 3 หน้าแรกของ Proposal สำคัญมากเพราะผู้ให้ทุนจะตัดสินหลังจากอ่านหน้าที่ 3 แล้วว่าจะให้ทุนหรือไม่ Prof.Disney ก็บอกผมว่าส่วนที่มาฯ ของงานเป็นส่วนสำคัญมากสำหรับ Journal Editors โดยเฉพาะ journals ที่ดีๆ
  3. ควรจะอ้างอิงข้อมูลหรือไม่
    ในการทำวิจัยนั้นการอ้างอิงข้อมูลถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่จะสนับสนุนงานวิจัยของเรา ทั้งนี้การอ้างอิงอาจจะทำให้ส่วนที่มาฯ มีความน่าเชื่อถือดังนั้นหากจะมีการอ้างอิงในสาวนที่มาฯ นั้น แหล่งที่ใช้ควรจะเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือในระดับที่สูง และสามารถติดตามตรวจสอบความถูกต้องได้งาน เพราะหากตามตรวจสอบยากแล้วผุ้อ่านอาจจะมีความเคลือบแคลงสงสัยได้ อย่างไรก็ตามปกติ ในย่อหน้าแรกผมจะไม่อ้างอิงเลย แต่จะสรุปปัญหาอย่างกระชับและเข้าใจได้ง่ายๆ แล้วค่อยหาหลักฐานมาสนับสนุนคำกล่าวของเราในส่วนต่อมา เพื่อที่จะจับความสนใจของผู้อ่านให้ได้เร็วที่สุด ก่อนที่ผู้อ่านจะปิดไฟล์ หรือโยนงานเราลงถังขยะเสียก่อน
  4. ควรจะปิดท้าย(สรุป)อย่างไรดี
    สุดท้ายที่มาและความสำคัญจะต้องโน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นด้วยและคล้อยตามเราว่าทำไมเราจึงควรสละเวลาและทรัพยากรต่างๆ ในการทำวิจัยเพื่อหาคำตอบของปัญหาวิจัยนี้ และทำให้ผู้อ่านอยากจะอ่านงานวิจัยนี้ต่อไปอีก (อย่างน้อยต้องทำให้ผู้อ่านอยากรู้คำตอบของงานวิจัยนี้) ให้ได้
เรื่องกรอบเนื้อหาการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยนี้ ผศ.ดร. คมสัน สุริยะ ได้ให้คำแนะนำที่น่าสนใจไว้ที่ TourismLogistics.com เช่นกันครับ

อ่านต่อ เทคนิคการทำวิจัย Research Top Tips

3 Comments Post a comment
  1. Elly #

    จะรบกวนสอบถาม คะ พอดี สนใจเรื่องเกี่ยวกับ Supply Chain and logistics อยากศึกษา Internaltional journal พอจะแนะนำ ได้ไหม?คะ อยากได้เอาไปศึกษาคะ แต่ไม่รู้จะเริ่มที่ตรงไหนดี

    September 30, 2011

Trackbacks & Pingbacks

  1. เคล็ดลับ ๕ ประการพิชิตวิทยานิพนธ์ | Pairach Piboonrungroj

Leave a comment